วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เครื่องเสียง

ความหมายและประเภทของเครื่องขยายเสียงเครื่องขยายเสียงเป็นเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กโทรนิคส์ที่ก้าวหน้าและมีความจำเป็นต่อชีวิตของคนเรามาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ และระบบเสียงของโทรทัศน์ และ C.V.D โดยต้องการให้เสียงนั้นมีความชัดเจนไม่มีเสียงรบกวนสอดแทรก มีเสียงเหมือนจริงตามธรรมชาติ และมีความไพเราะรื่นหู ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของเสียงให้อยู่ในขั้นดีเสียงดัง ฟังชัด และมีความเที่ยงตรง เหมือนความเป็นจริงมากที่สุด เรียกว่าระบบ Hi-Fi6.2 ระบบเสียง6.2.1 ระบบเสียงโมโน (mono phonic sound system) หมายถึงการขยายเสียงที่ขยายเสียงเพียง 1 ช่องเสียง ขยายเสียงเหมือนต้นกำเนิดเสียงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงพูดเสียงบรรยาย 6.2.2 ระบบเสียงสเตอริโอ (stereo phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงตั้งแต่ 2 ช่องเสียงขึ้นไป ขยายเสียงผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียงในทางไพเราะ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงเพลง เสียงดนตรี ระบบเสียงสเตอริโอนั้น อาจสร้างขึ้นมาเป็นชนิด 2 ช่องเสียง (2 CH) คือช่องเสียงทางซ้าย (left channel) และช่องเสียงทางขวา (right channel) ซึ่งระบบนี้มนุษย์เรานิยมใช้ฟังกันมากเพราะตรงตามธรรมชาติของหูผู้ฟังคือ มี 2 หู หูซ้ายและหูขวา
ไมโครโฟนและการใช้ไมโครโฟนไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง ชนิดของไมโครโฟน 6.4.1 แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ 1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์ 2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก 3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ 4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ 6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง เครื่องบันทึกเสียง และการใช้เครื่องบันทึกเสียง 6ลำโพงเป็นเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง ลำโพงมีหลายแบบซึ่งมีหลักการและโครงสร้างแตกต่างกัน ลำโพงที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้คือ แบบไดนามิค (Dynamic Speaker) 6.11.1 ชนิดของลำโพง ลำโพงในปัจจุบัน แบ่งกว้างๆ ได้ดังนี้ 1) ลำโพงฮอร์น (Horn) ลำโพงประเภทนี้ใช้พวำฟเบอร์หรือพวกโลหะเป็นแผ่นสะเทือน (Voice Coil) จึงทำให้เกิดเสียงดังมากและลำโพงปากแตร ลำโพงประเภทนี้มีความทนทานต่อการใช้งานหนักได้เป็นอย่างดี ทนแดดทนฝน (แต่ต้องระวังไม่ให้ส่วนที่เป็นลำโพงตกกระแทกแรงๆ จะทำให้แม่เหล็กภายในลำโพงบิดงอ ซึ่งจะทำให้ลำโพงขาดบ่อย จึงเหมาะกับการใช้งานกลางแจ้งหรืองานกระจายเสียงสาธารณะที่ต้องการความดังไกล 2) ลำโพงกรวยกระดาษ (Paper Cone Speaker) ลำโพงประเภทนี้มีใช้ตามเครื่องรับวิทยุทั่วๆ ไป หรือนำมาใส่ไว้ในตู้เย็นเพื่อตั้งกับพื้นหรือตั้งโต๊ะ หรือติดตามฝา ลำโพงแบบนี้ทำไว้สำหรับรับคลื่นความถี่แต่ละช่วงเช่น Woofer (วูฟเฟอร์) สามารถตอบสนองคลื่นความถี่ต่ำได้ดี จึงเรียกว่าลำโพงเสียงทุ้ม Mid range (มิดเรนจ์) สามารถตอบสนองคลื่นความถี่ในช่วงกลางๆ จึงเรียกว่าเสียงกลาง Tweeter (ทวีตเตอร์) ตอบสนองคลื่นคามถี่สูงได้ดี ลำโพงแบบนี้ส่วนมากมีขนาดเล็กเราเรียกว่าลำโพงเสียงแหลม 6.11.2 การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ความสามารถในการรับความดังของลำโพงมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt (W)) ความสามารถในการรับ ความดังของลำโพง หมายความว่า ที่ลำโพงจะมีตัวเลขบอกไว้ว่า 40W หรือ 60 W หรือ 100W การต่อลำโพงจะต้องคำนึงถึงตัวเลขเหล่านี้คือ ถ้าเครื่องขยายเสียงของเรามีความดัง 100W เราต้องใช้ลำโพงซึ่งรวมกันแล้วได้ 100 W หรือมากกว่านี้ จะใช้น้อยกว่าไม่ได้ จะทำให้ลำโพงขาดได้ในกรณีนี้ต้องใช้ลำโพง 40W ถึง 3 ตัวหรือใช้ลำโพง 6W อย่างน้อย 2 ตัว 2) ความต้านทานของลำโพง ความต้านทานของลำโพง หมายความว่า ความต้านทานในการไหล ของกระแสไฟฟ้า (ซึ่ง Watt ของเครื่องขยายเสียงคงที่) ถ้าความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าจะไหลได้มากขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าคามต้านทานมากกระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อยลง ที่เครื่องขยายจะมีจุดความต้านทานให้เลือกต่อ เราจะต้องต่อให้ความต้านทานของเครื่องขยายเสียงเท่ากับความต้านทานของลำโพงหรือมากกว่า การคำนวณความต้านทานของลำโพงคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้วิธีต่อลำโพง การต่อลำโพงเพื่อใช้งานทำได้ 3 วิธีคือ 1) การต่อแบบขนาน คำนวณได้จากสูตรR = 1/R1 + 1/R2 +1/R3 - - - - - - - - - - - + 1/Rnเช่น ลำโพง 16 ohm 4 ตัว ถ้าต่อแบบขนาน จะต้องต่อที่เครื่องเสียงกี่โอห์ม?1/R = 1/16 + 1/16 + 1/16 + 1/16 - - - - - - - - - = 4/16 R = 16/4 = 4 ต้องต่อที่ขยาย 0 โอห์ม และ 4 โอห์ม

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552




ตราประจำจังหวัด คือ พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ ณ
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 และเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย [8]
ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่
เคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon)
ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่
ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii)ตั้งอยู่อำเภอพนม
คำขวัญประจำจังหวัด ได้แก่ เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
คำขวัญประจำจังหวัดในอดีต แต่งโดยพระเทพรัตนกวี (ก.ธรรมวร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี: "สะตอวัดประดู่ พลูคลองยัน ทุเรียนหวานมันคลองพระแสง ย่านดินแดงของป่า เคียนซาบ่อถ่านหิน พุนพินมีท่าข้ามแม่น้ำตาปี ไม้แก้วดีเขาประสงค์ กระแดะดงลางสาด สิ่งประหลาดอำเภอพนม เงาะอุดมบ้านส้อง จากและคลองในบาง ท่าฉางต้นตาล บ้านนาสารแร่ ท่าทองอุแทวัดเก่า อ่าวบ้านดอนปลา ไชยาข้าว มะพร้าวเกาะสมุย"
เพลงประจำจังหวัด
สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี รุ่งเรืองสมเมืองคนดี อีกธารตาปี งามพระธีรราช ประทาน เป็นแดนอุดม ไม้ ปลา มะพร้าว มะเนิ่นนาน เหล่าราษฎร์สุขศานต์ มุ่งมั่นขยันทำกิน มิ่งขวัญ............. ชาวเมือง............. มีองค์พระธาตุ พุทธศาสน์ประเทืองถิ่น ชนกตัญญูยิ่ง เมตตาอยู่อาจินต์ ร่วมรักแผ่นดิน คนดีอยู่นี้ไชโย (ซ้ำอีกรอบ)
มนต์สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี สายน้ำตาปีไหลล่อง สองริมฝั่งน้ำเจิ่งนอง งามเรืองรองทั่วทั้งธานิน สุราษฎร์ธานี เป็นเมืองมั่งมีทรัพย์สิน ผู้คนตั้งใจทำกิน ทั่วท้องถิ่นเจริญเพลินตา เขาศรีวิชัย อยู่ในอำเภอพุนพิน ดอนสัก พุมเรียง วังหิน ธารน้ำรินสวนโมกไชยา เขาสกเชี่ยวหลาน ท่าเพชร นาสารเคียนซา ทุ่งทองอนุรักษ์สัตว์ป่า น้ำตกวิภาวดี ร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดงแหล่งธรรม เกาะสมุยงามล้ำ ชุ่มฉ่ำชั่วนาตาปี หินตาหินยาย หินงูแหลมสอเจย์ดี เกาะพะงันแหล่งนี้ ยังมีสระมโนราห์ น้ำตกจอมทอง น่ามองอ่าวทองนายปาน เพลิดเพลินวนอุทยาท สมนามสุราษฎร์ธานี


สุราษฎร์ธานี

ประวัติศาสตร์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของเมืองเก่า เป็นศูนย์กลางของเมืองศรีวิชัย มีหลักฐานแสดงถึงการตั้งรกรากและเส้นทางสายไหมในอดีต พื้นที่อ่าวบ้านดอนเจริญขึ้นจนเป็นอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองในอดีต ภายหลังยังเชื่อว่า เมื่ออาณาจักรตามพรลิงก์หรือเมืองนครศรีธรรมราชมีความรุ่งเรืองมากขึ้นนั้น เมืองไชยาก็เป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ชื่อว่า "เมืองบันไทยสมอ"[5]
นอกจากนี้ในยุคใกล้เคียงกันนั้นยังพบความเจริญของเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปี ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองท่าทอง โดยเชื่อว่าเจ้าศรีธรรมาโศก ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้นอพยพย้ายเมืองมาจากเมืองเวียงสระ เนื่องจากเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาด[6] และเมื่อเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองนั้น ได้ยกเมืองไชยา และเมืองท่าทอง เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของตนด้วย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งอู่เรื่อพระที่นั่งและเรือรบเพื่อใช้ในราชการที่อ่าวบ้านดอน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายที่ตั้งเมืองท่าทองมายังอ่าวบ้านดอน (ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งยกฐานะให้เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และพระราชทานชื่อว่า "เมืองกาญจนดิษฐ์"[5] โดยแต่งตั้งให้พระยากาญจนดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองดูแลการปกครอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองไชยาเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "เมืองไชยา" ภายใต้สังกัดมณฑลชุมพร
เมื่อเมืองขยายใหญ่ขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการปกครองและขยายเมืองออกไป มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ อ่าวบ้านดอน ให้ชื่อเมืองใหม่ว่า อำเภอไชยา และให้ชื่อเมื่องเก่าว่า "อำเภอพุมเรียง" แต่เนื่องด้วยประชาชนยังติดเรียกชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานนามเมืองใหม่ที่บ้านดอนว่า "สุราษฎร์ธานี" และให้ชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา"[7] และทรงพระราชทานนามแม่น้ำตาปี ให้ในคราวเดียวกันนั้นเอง ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแบบเมืองและแม่น้ำในประเทศอินเดียที่มีแม่น้ำตาปติไหลลงสู่ทะเลออกผ่านปากอ่าวที่เมืองสุรัฎร์[

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551